1

(ตัวอย่างการจัดคอลัมภ์Journal)

นิภาพรรณเจนสันติกุล1

Meta Analysis of Village Fund Project

Nipapan Jensantikul

Abstract

The main purpose of research was to synthesize 17 research reports on Village and Urban Community Fund Projects this were carried out by students attached to the School of Public Administration, School of Development Economics, and School of Social Development at the National Institute of Development Administration. It was found that :

Some research collected data from the whole population whereas others from samples. Techniques developed by Taro Yamane and Table by Krejcie and Morgan were used to determine sample sizes. Both probability and non-probability sampling techniques were employed for such a purpose. However, some research did not mention the methodology for the specification and determination of population and sample. Most researches collected data by means of questionnaires.

The content of the researches was consistent with of seven aspects of the body of knowledge, i.e., management , human resources, accounting, finance, marketing, managerial environment and production as well as twelve success factors, i.e., sound knowledge of project missions; support of high – level – executives; classification of job structure, and project scheduling; consulting with, and acceptance of executives; understanding of foundation and environment of the community; human resource management, technical management; budgeting and contract management; control system specification for time, costs, and quality; network communication and report; solutions for unexpected problems; conflict management; and facilitating project transfer. With respect to the research process, most researches focused on the study of project effectiveness without the process toward the project objective. Moreover, the research output revealed that people ware highly satisfied with the village and community fund projects. In their option, the projects were good. Nevertheless, some researchesfailed to evaluate the overallefficiency of the projects. Finally, as far as the research results were concerned, most researches concentrated on the evaluation of the availability of village and community fund projects, with different objectives regarding areas, and whether the project objectives ware carried out successfully or not.

Key words:Meta analysis, Project evaluation, Village and community fund project

1

บทนำ

ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโลกและเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลานานในช่วงทศวรรษแห่งการพัฒนาที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการศึกษาเรื่องความยากจนและการกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนมาเป็นเวลานานหลายปีแม้แต่แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็มุ่งเน้นไปที่ปัญหาความยากจนซึ่งโดยปกติเราจะพิจารณาความยากจนทางด้านรายได้จากเส้นความยากจน (Poverty line) เป็นหลักแต่ในปัจจุบันมุมมองเกี่ยวกับการวัดความยากจนของประเทศไทยได้ขยายกว้างไปกว่ามิติด้านรายได้โดยครอบคลุมมิติอื่นๆที่สำคัญได้แก่การวัดคุณภาพชีวิตของคนความอยู่ดีมีสุข (Well-being) การจัดทำผังคนยากจน (targeting map) และการวัดความยากจนเชิงโครงสร้างจากปัญหาความยากจนที่แสดงให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมาอย่างยาวนานและยากที่จะแก้ไขนั้นได้เป็นพลังผลักดันให้รัฐบาลได้ให้ความสนใจและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปจากประเทศไทยโดยจัดให้มีนโยบายและโครงการต่างๆมากมายอย่างเช่นโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าอันเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ต้องการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่ยากจน

ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญว่าควรที่จะมีการศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เชิงอภิมานโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งนี้เพราะจากการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลโครงการกองทุนหมู่บ้านที่ผ่านมาพบว่ามีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมากแต่ไม่มีการศึกษาวิจัยใดนำข้อมูลที่ได้รับมาสังเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าผลการดำเนินงานโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ผ่านมานั้นมีผลการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางใดบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของกองทุนจริงหรือไม่อย่างไรบ้างและในงานวิจัยทั้ง17เล่มที่เลือกมาศึกษานั้นมีวิธีการศึกษาจากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลายซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต่อไปโดยมีขอบเขตด้านเนื้อหาที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการดังกล่าวโดยมีขอบเขตในการศึกษางานวิจัยจำนวน17 เล่มที่มีความโดดเด่นในเรื่องต่อไปนี้1) ความแตกต่างทางด้านพื้นที่ได้แก่เชียงรายปราจีนบุรีลำพูนอุบลราชธานีขอนแก่นกรุงเทพมหานครนครนายกสิงห์บุรีฉะเชิงเทราอ่างทองและนราธิวาส2) วัตถุประสงค์การวิจัยที่มุ่งศึกษาความคิดเห็นของประชาชนและผลกระทบของการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยสัดส่วนที่ผู้วิจัยให้น้ำหนักในการศึกษาคือด้านระเบียบวิธีวิจัย40% และด้านเนื้อหา60%ในด้านระเบียบวิธีวิจัยจะทำการศึกษาในเรื่องประชากรกลุ่มตัวอย่างวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาด้านเนื้อหาจะทำการศึกษา 4 ด้านประกอบไปด้วยด้านปัจจัยนำเข้าได้แก่งบประมาณบุคลากรข้อมูลข่าวสารการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการกองทุนฯและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการเป็นการศึกษาถึงความเหมาะสมของวิธีการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนการติดตามกำกับการดำเนินงานด้านผลผลิตผลของการมีโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยพิจารณาด้านประสิทธิภาพและความพึงพอใจอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองด้านผลลัพธ์ศึกษาผลลัพธ์จากมีการดำเนินโครงการดังกล่าวรวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย

วิธีการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยผลงานวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลโครงการและโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและทำการกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของนักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์คณะพัฒนาการเศรษฐกิจและคณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จากจำนวนทั้งหมด 68 เล่มโดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเล่มงานวิจัยให้เหลือจำนวน 17 เล่มดังนี้

1) เป็นผลงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จต้นตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

2) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยการสืบค้นข้อมูลชื่อเรื่อง(title search)ด้วยคำสำคัญคือ“การประเมินผล,โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง”

แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกเฉพาะผลงานวิจัยที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับขอบเขตด้านเนื้อหาที่กำหนดไว้อันได้แก่ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อาทิงบประมาณบุคลากรข้อมูลข่าวสารการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการกองทุนฯและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการ (Process) เป็นการศึกษาถึงความเหมาะสมของวิธีการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนการติดตามกำกับการดำเนินงานด้านผลผลิต (Output) ผลของการมีโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยพิจารณาด้านประสิทธิภาพและความพึงพอใจและด้านผลลัพธ์ (Outcome) ศึกษาผลลัพธ์จากการมีโครงการดังกล่าวโดยพิจารณาความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังนั้นผลงานวิจัยต่างๆเหล่านี้จะถูกรวบรวมและทำการสังเคราะห์อุปกรณ์ในการดำเนินการวิจัยที่ผู้วิจัยใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจากงานวิจัยทั้ง17 เล่มที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือแบบบันทึกข้อมูลเพื่อใช้สำหรับจดบันทึกข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยในด้านระเบียบวิธีวิจัยและด้านเนื้อหาตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดเอาไว้

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยขอนำเสนอผลการสังเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วนคือด้านระเบียบวิธีวิจัยและด้านเนื้อหา

1.ด้านระเบียบวิธีวิจัยสามารแบ่งผลการสังเคราะห์ออกเป็น 3 ด้านดังนี้

1.1 ด้านจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

พบว่างานวิจัยทั้ง17 เล่มกำหนดจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนสมาชิกของกองทุนฯเป็นสำคัญโดยลักษณะของงานวิจัยทั้ง17เล่มมีงานวิจัยจำนวน 2เล่มที่มีการศึกษาโดยใช้ประชากรทั้งหมดในพื้นที่ที่งานวิจัยเล่มนั้นศึกษาส่วนงานวิจัยที่มีการใช้วิธีการทางสถิติของTaro Yamaneในการคำนวณขนาดของตัวอย่างจากประชากรทั้งหมดในพื้นที่ที่งานวิจัยเล่มนั้นศึกษามีจำนวน 1 เล่มและใช้การประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมดในพื้นที่ที่งานวิจัยเล่มนั้นศึกษาโดยใช้ตารางKrejcieและMorganจำนวน 1 เล่มสำหรับงานวิจัยที่ไม่ได้ใช้การประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมดในพื้นที่ที่งานวิจัยเล่มนั้นศึกษาโดยใช้ตารางKrejcieและ Morganแต่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับจำนวนประชากรมีจำนวน 1 เล่มส่วนงานวิจัยที่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรแล้วจัดว่าไม่มีความเหมาะสมมีจำนวน 4 เล่มนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ไม่ปรากฏจำนวนประชากรแต่มีการกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 เล่มทำให้สามารถกล่าวได้ว่าในงานวิจัยทั้ง17 เล่มที่ทำการศึกษานี้มีงานวิจัยจำนวน5 เล่มที่ถือได้ว่ามีการกำหนดขนาดประชากรตัวอย่างในการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือส่วนงานวิจัยอีก12 เล่มถือได้ว่าขนาดของตัวอย่างในการศึกษายังไม่มีความเหมาะสมและไม่มีความน่าเชื่อถือ

1.2 ด้านวิธีการเลือกตัวอย่างพบว่า

งานวิจัยทั้ง17เล่มมีวิธีการเลือกตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1) การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างง่า (Simple Random Sampling) แบบตามกลุ่มหรือพื้นที่ (Cluster Random Sampling) และการเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) 2) การเลือกตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling)ที่มีลักษณะการสุ่มแบบไม่ตั้งใจ (Accidental) การสุ่มตามโค้วตา (Quota Sampling) และการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)

1.3 ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพบว่า

ส่วนใหญ่มีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและมีการใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ประกอบร่วมเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)ซึ่งจากการสังเคราะห์ของผู้วิจัยยังพบว่าเครื่องมือในการวิจัยจากงานวิจัยทั้ง17 เล่มมีความเหมาะสมและมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ดีเพราะสามารถตอบวัตถุประสงค์ในการศึกษาของงานวิจัยแต่ละเล่มได้อย่างชัดเจน

2. ด้านเนื้อหาผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิดในการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้

2.1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จากการ

ศึกษางานวิจัยจำนวน 17 เล่มพบว่ามีงานวิจัยจำนวน 4 เล่มที่ได้กำหนดกรอบแนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าไว้อย่างชัดเจนได้แก่งานวิจัยเรื่อง“ประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน:ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมืองปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี”(เบญวรรณอ่านเปรื่อง, 2545)งานวิจัยเรื่อง“ประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหมู่บ้านกรณีศึกษาบ้านทุ่งทองกวาวตำบลทาทุ่งหลวงอำเภอ แม่ทาจังหวัดลำพูน” (ขนิษฐาปะกินำหัง, 2547)งานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน: ศึกษากรณีกองทุนหมู่บ้านตำบลเวียงอำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย”(อานนท์ผลจันทร์, 2548)และงานวิจัยเรื่อง“การประเมินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร” (ยงยุทธเจริญรัตน์, 2545)โดยปัจจัยนำเข้าประกอบด้วยงบประมาณบุคลากรข้อมูลข่าวสารการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการกองทุนฯและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะส่งผลต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้สามารถดำเนินงานตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆให้บรรลุผลสำเร็จ

2.2 ด้านกระบวนการ (Process) จากการศึกษางานวิจัยจำนวน 17 เล่มพบว่ามีงานวิจัยจำนวน 4 เล่มที่ได้กำหนดกรอบแนวความคิดถึงปัจจัยด้านกระบวนการได้แก่งานวิจัยเรื่อง“การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี” (อุทัยวรรณสมบรูณ์ทรัพย์, 2547) ซึ่งได้ศึกษาด้านกระบวนการอันประกอบไปด้วยโครงสร้างการทำงานการบริหารจัดการกองทุนและผลการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นไปที่การแสดงความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองและกลุ่มคณะกรรมการกองทุนฯซึ่งผลการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลคือด้านโครงสร้างมีประสิทธิภาพสูงการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพปานกลางค่อนข้างสูงผลการดำเนินงานปานกลางค่อนข้างสูงและในภาพรวมความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงส่วนงานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร” ได้ทำการศึกษากระบวนการซึ่งประกอบไปด้วยการจัดเตรียมข้อมูลของชุมชนและสมาชิกด้านการวางแผนและการกำหนดเป้าหมายการพิจารณาอนุมัติให้เงินกู้ด้านการดำเนินงานและการปฏิบัติงานการบริหารจัดการกองทุนการติดตามสนับสนุนการใช้เงินยืมของสมาชิกด้านกระบวนการติดตามและประเมินผลในขณะที่งานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนหมู่บ้านตำบลเวียงอำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย”(อานนท์ผลจันทร์, 2548)ได้กำหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับด้านกระบวนการซึ่งประกอบไปด้วยระเบียบข้อบังคับโครงสร้างกองทุนการประสานงานการกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาและการปรับตัวและงานวิจัยเรื่อง“ประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหมู่บ้าน: กรณีศึกษาบ้านทุ่งทองกวาวตำบลทาทุ่งหลวงอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน” (ขนิษฐาปะกินำหัง, 2547)ได้กำหนดกรอบแนวความคิดในการศึกษาด้านกระบวนการคือกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนมีความเหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่กระบวนการคัดเลือกผู้กู้มีความเหมาะสมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่การอนุมัติเงินกู้มีการกระจายอย่างเป็นธรรมแก่สมาชิกหรือไม่ขั้นตอนการขอรับเงินกู้จากกองทุนมีความเหมาะสมหรือไม่การประกอบอาชีพของผู้กู้มีความเหมะสมหรือไม่มีการแนะนำอาชีพที่เหมาะสมแก่สมาชิกหรือไม่การนำเงินไปใช้และการส่งคืนเงินของสมาชิกการติดตามทวงถามการชำระหนี้มีมากน้อยเพียงใดการทำบัญชีกองทุนมีความเหมาะสมหรือไม่ความถี่ในการประชุมของคณะกรรมการกองทุนและสมาชิกมีบ่อยครั้งเพียงใด

2.3 ด้านผลผลิต (Output) ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นในการสังเคราะห์ดังนี้

1)ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์โครงการพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ของโครงการในข้อที่ว่า“เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง”เป็นอย่างมากตัวอย่างเช่นงานวิจัยเรื่อง“ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการกรณีศึกษา: พื้นที่อำเภออุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น”(ดวงฤดีพรหมกสิกร, 2545)ที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามีการใช้จ่ายเงินกู้ตามระเบียบของกองทุนอย่างเหมาะสมส่วนใหญ่นำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่ายในการบริโภคการศึกษาและการลงทุนในการประกอบอาชีพประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นมีความกินดีอยู่ดีสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นเช่นเดียวกันกับงานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษากรณีจังหวัดอุบลราชธานี” (ยิ่งยศศรีจรูญ, 2545)ที่กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาได้มีการพัฒนาอาชีพสร้างงานสร้างรายได้มีความเป็นอยู่หลังกู้ยืมเงินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดีขึ้นในขณะที่งานวิจัยเรื่อง“การประเมินประสิทธิผลโครงการกองทุนหมู่บ้านกรณีศึกษา:หมู่บ้านเกาะกาและหมู่บ้านท่าควายแหต.ท่าเรืออ. ปากพลีจ. นครนายก”(พิมพ์รัตน์ตั้งมีลาภ, 2545)ได้มีการเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ในการกู้กับพฤติกรรมการบริโภคพบว่ามีการนำเงินไปใช้ชำระหนี้สินใช้จ่ายในครอบครัวเป็นต้นแต่ส่วนใหญ่นำไปซื้อปัจจัยการผลิตในภาคเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีผลตอบแทนช้ากว่า1 ปีซึ่งผู้ศึกษางานวิจัยเล่มนี้ระบุว่าพฤติกรรมเช่นว่านี้อาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นส่วนงานวิจัยเรื่อง“การประเมินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร”ที่พบว่าการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถช่วยพัฒนาอาชีพเดิมให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่ไม่สามารถสร้างงานใหม่ได้เนื่องจากวงเงินกู้ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในกรุงเทพมหานคร

2) ระดับความพึงพอใจพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างในแต่ละพื้นที่มีระดับความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับที่สูงแต่มีความแตกต่างกันรายด้านที่มีความพึงพอใจอย่างเช่นงานวิจัยเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา” (รังสฤษฎ์ทัศนพยัคฆ์, 2546) ความพึงพอใจของประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับมากโดยสมาชิกกองทุนมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสมควรจะดำเนินการต่อไปรองลงมาคือคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสมของคณะกรรมการกองทุนฯซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษากรณีจังหวัดอุบลราชธานี”(ปรีชาสารภี, 2546) ที่พบว่าระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูงโดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านบุคลากรรองลงมาคือระบบหลักเกณฑ์การขอยืมเงินและด้านผลตอบแทนเมื่อเข้าร่วมโครงการและงานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนหมู่บ้านตำบลเวียงอำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย”(อานนท์ผลจันทร์, 2548) ที่ระดับความพึงพอใจสูงสุดในด้านรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับเงินกู้รองลงมาคือด้านการติดตามการนำเงินกู้ไปใช้ประโยชน์และพบว่าข้อที่มีความพึงพอใจน้อยคือขั้นตอนการกู้เงินและเช่นเดียวกันกับงานวิจัยเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดอ่างทอง”(อุมาพรกล่อมทองสุข, 2546) พบว่าความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยรวมอยู่ในระดับสูงเหมือนกันแต่ไม่ได้สรุปเป็นรายด้านว่าด้านใดมีความพึงพอใจสูงสุด

3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยแยกเป็น 3 กลุ่มคือประชาชนข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ข้าราชการของกระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบต่อโครงการฯโดยตรง) และข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนอื่นๆ (ข้าราชการสังกัดอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน) ซึ่งมีกรอบแนวคิดคือความคิดเห็นในเรื่องของวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านการเตรียมความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านการวิเคราะห์อาชีพที่ประสบความสำเร็จการบูรณาการกองทุนหมู่บ้านและการติดตามและการประเมินผลกองทุนหมู่บ้านซึ่งความคิดเห็นเป็นการแปลความหมายหรือการลงความเห็นที่เกิดจากข้อเท็จจริงโดยงานวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของข้าราชการพัฒนาชุมชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษากรณีจังหวัดอุบลราชธานี” (สมคิดมุกสิกอินทร์, 2545)ระบุว่าเป็นทรรศนะหรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่วนงานวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส” (เถลิงศักดิ์ยกศิริ, 2545)ผลการศึกษาพบว่าในด้านวัตถุประสงค์ข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนอื่นๆมีระดับความคิดเห็นด้วยมากใน 3 ประเด็นคือ 1) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนได้ 2) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการด้วยตนเอง 3) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐานของชุมชนในด้านการเตรียมพร้อมมีความคิดเห็นด้วยมากในเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนการสร้างเครือข่ายหมู่บ้านเข้มแข็งช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและการมีเวทีประชาคมเป็นกลไกส่งเสริมให้สามารถเลือกสรรคนดีเป็นคณะกรรมการกองทุนฯสำหรับในด้านการวิเคราะห์อาชีพที่ประสบความสำเร็จและการบูรณาการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่ามีระดับความคิดเห็นด้วยน้อยในด้านการติดตามและประเมินผลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่ามีระดับความคิดเห็นด้วยมากในเรื่องของการให้คำแนะนำและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และควรมีการประสานงานในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

2.4 ด้านผลลัพธ์ (Outcome) จากการสังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 17 เล่มมีงานวิจัยจำนวน 2 เล่มที่ได้อธิบายถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างเช่นงานวิจัยเรื่อง“ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการกรณีศึกษา:พื้นที่อำเภออุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น”(ดวงฤดีพรหมกสิกร, 2545) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมุ่งตอบคำถามการวิจัยที่ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสมรรถนะของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้านการมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติของสมาชิกตามระเบียบข้อบังคับของชุมชนด้านภูมิปัญญาชาวบ้านทางการผลิตด้านพฤติกรรมการบริโภคของชุมชนกับประสิทธิผลของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งผลการศึกษาพบว่าโครงการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่การศึกษาอำเภออุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่นมีประสิทธิผลประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินกองทุนไปใช้ในการดำเนินการต่างๆมีความอยู่ดีกินดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นส่วนงานวิจัยเรื่อง“การประเมินประสิทธิผลโครงการกองทุนหมู่บ้านศึกษากรณี: หมู่บ้านเกาะกาและหมู่บ้านท่าควายแหต. ท่าเรืออ. ปากพลีจ. นครนายก” (พิมพ์รัตน์ตั้งมีลาภ, 2545)ที่ได้นำเสนอการเปรียบเทียบผลการศึกษาจากงานวิจัยกับรายงานของกรมพัฒนาชุมชนซึ่งวัดเป็นผลกระทบด้านต่างๆคือด้านสังคมด้านเศรษฐกิจด้านการเมืองและวัฒนธรรมไว้อย่างน่าสนใจว่าผลกระทบที่ทำการศึกษาเป็นผลกระทบในทางที่ดีที่นำมาจากวัตถุประสงค์ของโครงการตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพ.ศ. 2547 มาตรา 5

สรุปและอภิปรายผล

1. ด้านระเบียบวิธีวิจัยเพื่อศึกษาถึงผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 17 เล่มโดยศึกษาถึงระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาใช้ประกอบด้วยประชากรกลุ่มตัวอย่างวิธีการสุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาซึ่งในกรณีของการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างจะมีทั้งศึกษาจากทั้งหมดในพื้นที่การใช้วิธีการทางสถิติและการประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางKrejcie และMorganและมีบางเล่มที่ไม่ปรากฏจำนวนประชากรแต่มีการกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 เล่มผู้วิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่าการไม่ระบุจำนวนประชากรแต่มีการกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างอาจจะส่งผลให้ “จำนวนกลุ่มตัวอย่างไม่เหมาะสมกับประชากรที่ใช้ในการศึกษาจริง” ซึ่งมีผลต่อข้อค้นพบ (Findings) ที่ได้จากงานวิจัยโดยทำให้ค่าของข้อมูลหรือข้อเท็จจริงของกลุ่มตัวอย่างคลาดเคลื่อนไปจากค่าของข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจริงด้านวิธีการสุ่มตัวอย่างมีวิธีการสุ่มตัวอย่างตามวิธีการสุ่มตัวอย่างที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1) การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น2) การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้านเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาเป็นส่วนใหญ่และมีการใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ประกอบร่วมเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)

2. ด้านเนื้อหาผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของนักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์คณะพัฒนาการเศรษฐกิจและคณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จำนวน 17 เล่มผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิดในการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้

2.1ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อาทิเช่นงบประมาณบุคลากรข้อมูลข่าวสารการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการกองทุนฯและผู้ที่เกี่ยวข้องพบว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรกเป็นเรื่องปัจจัยนำเข้าที่จะส่งผลต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้สามารถดำเนินงานตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆให้บรรลุผลสำเร็จซึ่งส่วนนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่ามีลักษณะที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ 7 ด้านที่กิตติบุนนาคกล่าวว่าประกอบไปด้วยองค์ความรู้ทางการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับปัจจัยนำเข้าในงานวิจัยทั้ง 17 เล่มที่ผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์และนอกจากนี้ผู้วิจัยยังมีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่าปัจจัยนำเข้าที่สำคัญน่าจะครอบคลุมไปถึงองค์ความรู้อีก 5 ด้านอาทิองค์ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมองค์ความรู้ทางด้านการบัญชีองค์ความรู้ทางการเงินองค์ความรู้ทางการผลิตและองค์ความรู้ทางการตลาดเป็นต้นซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่สนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมากขึ้นสามารถที่จะนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างแท้จริงส่วนที่สองเป็นเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งจากการศึกษาทำให้ผู้วิจัยพบข้อค้นพบที่สำคัญว่ามีความสอดคล้องกับตัวแบบ 12 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ(The twelve critical success factors model) ที่ปกรณ์ปรียากรได้กล่าวถึงไว้ (ปกรณ์ปรียากร, 2548)ซึ่งถ้าในการบริหารการจัดการด้านบุคลากรการที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถที่จะปฏิบัติได้ตามตัวแบบ 12 ปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการดำเนินงานของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะประสบความสำเร็จหากไม่มีการปฏิบัติตามผลของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองก็จะมีความล้มเหลว

2.2ด้านกระบวนการ (Process) จากการ

สังเคราะห์งานวิจัยจำนวน 17 เล่มพบว่ามีงานวิจัยจำนวน 4 เล่มที่ได้กำหนดกรอบแนวความคิดถึงปัจจัยด้านกระบวนการซึ่งพบว่างานวิจัยเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลักไม่ได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องกระบวนการการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างแท้จริงและการสังเคราะห์ครั้งนี้ได้พบข้อค้นพบจากงานวิจัยที่สำคัญคือการที่คณะกรรมการกองทุนฯไม่ให้ความสำคัญกับระบบการติดตามควบคุมการกำกับโครงการ (Monitoring) ความเหมาะสมของวิธีการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนซึ่งจัดเป็นปัญหาด้านการจัดการ (Management) ที่ส่งผลให้กระบวนการดำเนินงานโครงการประสบกับสภาพปัญหาในหลายๆรูปแบบ

2.3ด้านผลผลิต (Output) ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการบรรลุตามวัตถุประสงค์ระดับความพึงพอใจและระดับความคิดเห็น

2.4ด้านผลลัพธ์ (Outcome) ส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาในเชิงการประเมินผลจากการมีโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยในแต่ละเล่มมีวัตถุประสงค์การศึกษาที่แตกต่างกันออกไปโดยให้ความสำคัญกับความสำเร็จของโครงการจากการดูว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ (Effectiveness) ในแต่ละพื้นที่ที่ทำการศึกษาเป็นหลักจึงทำให้ขาดการ

มองภาพรวมหรือการประเมินผลในภาพรวม(Comprehensive Evaluations) จึงทำให้มองข้ามผลกระทบอันเกิดจากโครงการโดยส่วนใหญ่จะมองผลกระทบในทางที่ดีอาทิเช่น 1) การมีจำนวนเงินสะสมของหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 2) สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการขยายกิจการโดยเฉพาะในการอุตสาหกรรมครัวเรือนเช่นแกะสลักทำให้ละเลยผลกระทบในทางที่ไม่ดีและขาดการมองถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการมีโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีลักษณะของนโยบายแบบDemand Side Policy ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์โดยขาดการวิเคราะห์บริบทสภาพปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริงซึ่งจัดเป็นปัญหาทางด้านนโยบายที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้มีการวางแผนอย่างมีเหตุผลแต่เป็นการตัดสินใจแทนประชาชนและกลุ่มหลากหลายซึ่งหากพิจารณาถึงผลกระทบของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้วพบว่าในระยะสั้นอาจจะไม่มีผลกระทบใดๆปรากฏให้เห็นชัดเจนประกอบกับประชาชนมีความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการสิ่งที่ควรปรับปรุงเป็นเรื่องของการเพิ่มจำนวนเงินกู้เนื่องจากจำนวนเงินไม่เพียงพอกับความต้องการซึ่งมีงานวิจัยที่สนับสนุนคืองานวิจัยเรื่อง“ประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหมู่บ้านกรณีศึกษาบ้านทุ่งทองกวาวตำบลทาทุ่งหลวงอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน” งานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษากรณีจังหวัดอุบลราชธานี”และงานวิจัยเรื่อง“การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านศึกษาเฉพาะอำเภอแม่ลาวจังหวัดเชียงราย” (ดำรงศักดิ์ขวัญชัย, 2547)และการขยายเวลากู้ซึ่งงานวิจัยที่สนับสนุนคืองานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองศึกษาเฉพาะกรณีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร”ในระยะยาวจะส่งผลหนี้เสียและส่งผลถึงความมั่นคงทางการเงินของประเทศที่เกิดจากการสูญเสียเงินคงคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าซึ่งหากมองถึงตัวโครงการอย่างแท้จริงแล้วโครงการดังกล่าวไม่ได้มุ่งแก้ที่สาเหตุเป็นเพียงบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการใช้เงินเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในหมู่บ้านในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นจึงทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจแนวโน้มในการนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโครงการจึงเป็นเพียงการขอเงินเพิ่มการผ่อนผันเรื่องระยะเวลาชำระหนี้คืนการลดดอกเบี้ยดังนั้นแนวโน้มการใช้จ่ายของประชาชนจึงไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการซึ่งมีงานวิจัยที่สนับสนุนคืองานวิจัยเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา” (รังสฤษฎ์ทัศนพยัคฆ์, 2546) และงานวิจัยเรื่อง“การประเมินผลโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง:ศึกษากรณีจังหวัดอุบลราชธานี” (ยิ่งยศศรีจรูญ, 2545) ส่งผลให้แนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านมีจุดอ่อนเพราะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นอันส่งผลกระทบทางการเงินที่ไม่ดี(เรืองวิทย์เกษสุวรรณ, 2550) คือ 1) เกิดปัญหาหนี้สินเป็นลูกโซ่จากสภาพความเป็นชุมชนที่เคยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเปลี่ยนแปลงไปมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทำลายวิถีชีวิตความเป็นชุมชนที่อยู่กับธรรมชาติพึ่งพาดินฟ้าอากาศในการประกอบอาชีพซึ่งเป็นผลมาจากที่ประชาชนนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการนำไปจับจ่ายใช้สอยในสินค้าที่ไม่จำเป็นอาทิโทรศัพท์มือถือเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น 2) เกิดการทุจริตขนานใหญ่ทั่วประเทศ 3) เป็นการส่งเสริมประชาชนให้ใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นทำให้สร้างทัศนคติที่ผิด 4) เป็นการพัฒนาที่ไม่แยกแยะบริบทชุมชนความแตกต่างทางพื้นที่วัฒนธรรม 5) ส่งเสริมการใช้เงินการบริโภคทำให้คนคลั่งวัตถุและการบริโภคหลักฐานที่ปรากฏชัดเช่นมีการแจกแผ่นพับในที่ประชุมกองทุนหมู่บ้านเสนอขายสินค้าเช่นรถยนต์ประกันชีวิตให้กู้ยืมเงินขายปุ๋ยมอเตอร์ไซค์โทรศัพท์มือถือบัตรเครดิตอิออนเป็นต้น 6) ก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนมีการทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นรุนแรงเช่นควงมีดไล่ฟันกรรมการกองทุนเป็นต้น

นอกจากนี้ลักษณะของการใช้เงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทเป็นลักษณะของการกระจายเงินแบบ เบี้ยหัวแตกไปยังครัวเรือนหรือประชาชนเชิงปัจเจกตามแนวทางทุนนิยมแทนที่จะจัดสรรเงินก้อนนี้เพื่อฟื้นฐานทรัพยากรของชุมชนสร้างพื้นฐานความเข้มแข็งและจัดลำดับเรียงความสำคัญของปัญหาในแต่ละชุมชนไม่เหมือนกันตามกรอบการพัฒนาแบบพอเพียงการพึ่งตนเอง“การหว่านเงินแบบเบี้ยหัวแตก” นอกจากจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนน้อยแล้วยังทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้รัฐบาลก็เป็นหนี้เป็นการพัฒนาแบบสงเคราะห์ชั่วคราว (วิวัฒน์ชัยอัตถากร, 2545)

ดังนั้นในการประเมินผลลัพธ์จึงเป็นการประเมินเพื่อการตีความ (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgment) จากสิ่งที่วัดได้ตามที่เยาวดีรางชัยกุลวิบูลย์ศรีได้กล่าวไว้(เยาวดีรางชัยกุลวิบูลย์ศรี, 2542) และผู้วิจัยมีความเห็นว่าในการประเมินผลลัพธ์โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองความประเมินโดยการดูว่าสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร 2) เปรียบเทียบคนที่เข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับคนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ 3) ดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเข้าร่วมโครงการหรือไม่ (hard to pin down)(Posavae, et. al., 1997) ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าการประเมินผลกระทบควรที่จะมีความครอบคลุมในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being)ความยั่งยืน (Sustainable) และการพัฒนา (Development)

ดังนั้นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่าหลักการสำคัญของการจัดทำโครงการกองทุนหมู่บ้านคือการกระจายทรัพยากร (Resource Allocation) อันได้แก่เงินงบประมาณแผ่นดินลงไปให้กับหมู่บ้านทุกแห่งโดยมิได้เลือกที่จะให้ความสนใจเฉพาะหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการผลิตสูงแต่เป็นการมุ่งเน้นให้นำเงินกองทุนหมู่บ้านไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตดังนั้นผลลัพธ์ที่ตามมาจึงไม่ใช่เพียงแค่การมองภาพของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านเท่านั้นหากแต่เป็นภาพของความหลากหลายทั้งในส่วนของกระบวนการดำเนินงานผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการมีโครงการการใช้ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม (Gross Domestic Product GDP) เพื่อวัดความสำเร็จของโครงการจึงเป็นการเลือกดัชนีชี้วัดที่ไม่มีความสอดคล้องในการประเมินความสำเร็จของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็สามารถที่จะอธิบายได้ว่ากระบวนการดำเนินงานโครงการดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ในข้อที่ 3 ถึงข้อที่ 5 กล่าวคือชุมชนไม่ได้มีการรับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองได้นอกจากนี้ยังไม่สามารถที่จะกระทำการใดๆเพื่อพัฒนาองค์ความรู้คุณภาพชีวิตสวัสดิภาพและสวัสดิการของสมาชิกหรือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองได้การมุ่งที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการดึงเอาทรัพยากรชุมชนในด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์ประกอบกับสมาชิกที่มาขอกู้เงินไม่สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการได้เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับโครงการในด้านเงินกู้ยืมประกอบกับชาวบ้านตกอยู่ในวัฏจักรของการเป็นหนี้กองทุนหมู่บ้านเช่นกิจกรรมที่กู้เงินไปลงทุนประสบกับการขาดทุนเช่นในพื้นที่วิจัยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการลงทุนปลูกแตงกวาในปีเพาะปลูก 2545 ซึ่งแตงมีราคาตกต่ำมากทำให้เกษตรกรที่กู้เงินไปลงทุนประสบกับภาวะขาดทุนทั้งหมดหรือเงินที่กู้มาไม่เพียงพอกับการลงทุนเพราะคาดการณ์ผิดหรือเพราะเงินตกมาช้าเช่นในการซื้อวัววัวมีราคาขึ้นเร็วเงินที่กู้มาได้ไม่พอที่จะซื้อจึงนำเงินไปใช้จ่ายด้านอื่นแทนเป็นต้น(นภาภรณ์หะวานนท์, 2546) และนอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองคือปัญหาด้านกระบวนการ (Process) เนื่องจากไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการติดตามควบคุมดูแลโครงการอย่างต่อเนื่องและเอาจริงเอาจังจึงส่งผลให้เงินกู้ดังกล่าวนำไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ชาวบ้านตกอยู่ในกับดักวงจรแห่งหนี้สินทั้งนี้ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวควรมีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

จากภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมด17 เล่มพบว่าแต่ละเล่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามดังนั้นสิ่งที่ควรเพิ่มเติมในการวิจัยครั้งต่อไปคือการใช้เครื่องมือในการวิจัยแบบผสมผสานกันเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับและทำให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกที่มีความหลากหลายครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและผลการศึกษาจากงานวิจัยมีส่วนในการเสนอภาพของการแก้ปัญหาด้วยหลักการที่ว่า “การเพิ่มแหล่งเงินทุนหมุนเวียน” ให้กับประชาชนดังนั้นผลลัพธ์ที่ควรมองไปในระยะยาวคือกองทุนหมู่บ้านจะมีความยั่งยืนได้อย่างไร? โดยผู้วิจัยมีความเห็นว่าความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านจะยั่งยืนได้เมื่อประชาชนในหมู่บ้านรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกองทุนมีการรวมกลุ่มแบบเหนียวแน่นและมีการตรวจสอบการคืนเงินกองทุนร่วมกันโดยมีฐานคิดที่ว่าทุกคนมีแผนการเงินที่ชัดเจนและเมื่อนำเงินกองทุนไปใช้ก็มีความสามารถในการชำระคืนได้เพื่อให้ประชาชนคนอื่นๆสามารถกู้เงินไปใช้ได้ต่อไปความสามารถในการชำระคืนได้เพื่อให้ประชาชนคนอื่นๆสามารถกู้เงินไปใช้ได้ต่อไป

1

1