43

From: "Vikrom A." <>To: "srirath gohwong" <>

Subject: THESIS

Date: Tue, 26 Jul 2005 14:22:12 -0000

Sawasdee krub อาจารย์ ศรีรัฐ

Would you please ADV & COR na krub.I am sorry for late send to you na krub.

Best regards

Vikrom a.

โครงการวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม

เรื่อง ความพร้อมของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

Readiness of Thai Airways International Public Company Limited personnel migration from Bangkok International Airport (Donmueng) Office to Suvarnabhumi International Airport

เสนอต่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อขออนุมัติทำการวิจัยประกอบวิทยา

นิพนธ์

ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขารัฐศาสตร์

ภาคการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2547

โดย นาย วิกรม อารีราษฎร์

ภายใต้การควบคุมของ

อาจารย์ศรีรัฐ โกวงศ์,รป.ม. ประธานกรรมการ

รองศาสตราจารย์มนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ,ร.ด. กรรมการสาขาวิชาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลลภ ลำพาย,ร.ด. กรรมการสาขาวิชารอง

ความสำคัญของปัญหา

ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นชุมทางของเส้นทางบินในการเดินทางไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางของแกนเหนือใต้ซึ้งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทางเหนือมีประเทศจีนและทางใต้ก็มีประเทศในกลุ่มอาเซียนเชื่อมโยงไปออสเตรเลีย ทางตะวันออกมีญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวันและฮ่องกง เชื่อมต่อไปอเมริกาส่วนตะวันตกก็ประกอบไปด้วยประเทศตะวันออกกลาง เชื่อมต่อไปยุโรป เหล่านี้เป็นต้นและความได้เปรียบเช่นนี้เองที่ผ่านมาประเทศไทยจึงพยายามพัฒนากิจการด้านการขนส่งทางอากาศอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์การขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่

ฉบับที่6 ( พ.ศ.2530-2534 ) เป็นต้นมา ( บัญชร,2545 )

มติคณะรัฐมนตรี 7 พฤษภาคม 2534 อนุมัติให้ดำเนินโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ พื้นที่หนองงูเห่า ซึ่งปัจจุบัน ได้รับพระราชทานชื่อใหม่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันว่า “ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ” ด้วยเหตุผลที่ต้องสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะเหตุว่า (1) ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) จะสามารถขยายตัว เพื่อรองรับการจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงปี พ.ศ. 2543 เท่านั้น (2) ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับทางวิ่ง โดยในปี พ.ศ. 2553 จำเป็นต้องมีทางวิ่งเส้นที่ 3 (ปัจจุบันมี 2 ทางวิ่ง) สำหรับการให้บริการภายหลังปี พ.ศ. 2543 นั้น จะเริ่มประสบความล่าช้าในการให้บริการ การลงทุนพัฒนาอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ต้องใช้เงินลงทุนสูงและไม่มีประสิทธิภาพ ( บัญชร,2545 )

นอกจากนี้ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประมาณ 10 ปี จึงควรริเริ่มโครงการโดยด่วน เพื่อให้สามารถบริการได้ในปี 2543 ด้วยเหตุผลเพื่อการเพิ่มสมรรถภาพของระบบท่าอากาศยาน การรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศและประสิทธิภาพในการให้บริการ แต่โครงการการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ถูกชะลอจนถึงรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานรีบดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้แล้วเสร็จพร้อมใช้บริการภายในปี พ.ศ. 2548 โดยกำหนดการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 ( บัญชร,2545 )

ท่าอากาศยานสากล โดยทั่ว ๆ ไป จะประกอบไปด้วยหลายๆหน่วยงาน เพื่อรวมเป็นท่าอากาศยานสากลที่สมบูรณ์ เช่น ส่วนรับผิดชอบผู้โดยสาร ส่วนรับผิดชอบคลังสินค้า ส่วนรับผิดชอบการซ่อมบำรุงอากาศยาน ส่วนรับผิดชอบการบริการภาคพื้นดิน ส่วนรับผิดชอบการดูแลสนามบิน ส่วนรับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศ ส่วนรับผิดชอบดูแลระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้ส่วนรับผิดชอบนั้นๆประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ก็คือ บุคลากรในส่วนที่รับผิดชอบนั้นๆ ในการย้ายท่าอากาศยานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง นอกจากในส่วนของสถานที่ที่จะต้องวางแผนเตรียมการก่อสร้างแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ยังท่าอากาศยานแห่งใหม่นั้น เพราะโดยปกติแล้วการย้ายท่าอากาศยานจะเกิดขึ้นน้อยมาก หรือแทบจะไม่เกิดเลยในชีวิตการทำงานของบุคลากร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในท่าอากาศยานนั้นๆ เพราะฉะนั้น การวางแผนการดำเนินชีวิตของบุคลากรเหล่านั้น จะอยู่บริเวณใกล้ๆกับท่าอากาศยานที่เขาเหล่านั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน ( บัญชร,2545 )

ผู้วิจัยในฐานะเป็นพนักงานผู้หนึ่งของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับผลกระทบที่จะต้องย้ายสถานที่ทำงานจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ ด้วยเช่นกัน จึงมีความสนใจศึกษาความพร้อมของพนักงาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการไปท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในการพิจารณาเพื่อวางแผนด้านบุคคลากรที่จะต้องย้ายสถานที่ทำงานไปยังท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความพร้อมของพนักงาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของพนักงาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผลของการศึกษาจะเป็นแนวทางให้แก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในเรื่องความพร้อมของพนักงานเพื่อรองรับการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

2. ผลของการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในเรื่องความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีที่จะมีการย้ายท่าอากาศยานจากแห่งหนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่งในอนาคต

การตรวจเอกสาร

การวิจัยเรื่อง ความพร้อมของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบเป็นแนวทางในการศึกษาโดยกำหนดหัวเรื่อง 7 หัวข้อ ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อม

1.1 ความหมายของความพร้อม

1.2 องค์ประกอบของความพร้อม

2. แนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวัง

2.1 ความหมายของความคาดหวัง

2.2 แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับความคาดหวัง

3. แนวคิดเกี่ยวกับความเข้าใจ

3.1 ความหมายของความรู้

3.2 แนวคิดเกี่ยวกับระบบความรู้

3.3 การวัดความรู้

3.3 ความหมายของความเข้าใจ

คุณควรใส่หัวข้อเป็น ความรู้ความเข้าใจ เพราะอ่านงานหลังจากหน้านี้ ก้อ OK แล้วครับ

4. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

5. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิและระบบที่เกี่ยวข้อง

6. มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิ

7. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อม

คำว่า “ พร้อม ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความไว้ว่า เป็นคำวิเศษณ์ที่มีความหมายว่า ครบถ้วน ส่วนคำว่า “ ความพร้อม ” เป็นคำนามซึ่งจะมีความหมายว่าความครบครัน หรือมีทุกอย่างครบแล้ว ดังนั้นหากจะแปลความหมายของความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาแล้ว ก็น่าจะได้ความหมายว่า สภาพที่มีทุกสิ่งทุกอย่างครบครันที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ได้ ( อ้างใน สมพงษ์ เที่ยงธรรม 2536:10 )

ความหมายของความพร้อม

Good (1973 อ้างถึงใน นวรัตน์ พ.ต.ต., 2545 : 17 ) ให้คำนิยามเกี่ยวกับความพร้อมว่าเป็นความสามารถตกลงใจ ความปรารถนา และความสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ความพร้อมเกิดจากลักษณะทางวุฒิภาวะ ประสบการณ์และอารมณ์ ความพร้อมจึงเป็นการพัฒนาคนให้มีความสามารถทำกิจกรรมนั้น ๆ

Sinclair and Hanks (1987: 1995) กล่าวว่าความพร้อม หมายถึง การที่บุคคล 1) ได้การเตรียมตัวเพื่อกระทำกิจกรรมบางอย่างให้สำเร็จตามเป้าหมาย 2) ความเต็มใจ ความกระตือรือร้นที่จะกระทำกิจกรรมบางอย่าง Please เลี่ยงปีเก่า ๆ แบบนี้ เพราะอาจหมายถึงคุณตัดมา ถ้าจริง ไม่เป็นไร เพราะเป็นแบบฝึกหัด แต่ควรจะเนียน ๆ ฮับ

Barrow and Milburn (1990: 259) กล่าวว่า ความพร้อม หมายถึง การที่บุคคลมีความสนใจและเริ่มต้นที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่าง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อม คือ สภาพจิตใจ กายวิภาค และสรีรวิทยา

กมลรัตน์ (2540: 229-230) ให้ความหมายไว้ว่า ความพร้อม หมายถึงสภาพความ สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจที่พร้อมจะตอบสนองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทางด้านร่างกาย ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity) ซึ่งหมายถึง การเติบโตอย่างเต็มที่ของอวัยวะร่างกาย ทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความพอใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือพอใจที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ

พรรณี (อ้างถึงใน นฤตพงศ 2540:15) กล่าวว่า ความพร้อม หมายถึงสภาวะของบุคคลที่จะเรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด

วิชุดา (2540: 26) กล่าวว่า ความพร้อม หมายถึง สภาพที่เตรียมพร้อมในการปฏิบัติ หรือดำเนินกิจกรรมนั้นๆใหสามารถสํ าเร็จลุลวงไปอยางมีประสิทธิภาพอันเปนผลมาจากการเตรียมตัวไวแลวสําหรับกิจกรรมนั้นๆ

ศรีสุกาญจน (2540: 69) กล่าวว่า ความพร้อม หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีวุฒิภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจและประสบการณการเรียนตลอดจนสามารถทํากิจกรรมตางๆใหบรรลุผลสําเร็จได

วิชญาพร (2541: 30) กล่าวว่า ความพร้อม หมายถึง การที่บุคคลมีความสนใจมีความเต็มใจและมีความกระตือรือรนที่จะกระทําบางสิ่งบางอยางใหสําเร็จลุลวงโดยไดเตรียมการไวลวงหน้า

กล่าวโดยสรุปความพร้อม หมายถึง สภาพที่เตรียมพร้อมในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้สามารถลุล่วงและสำเร็จภาระกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาจากความหมายของความพรอมและแนวคิดเกี่ยวกับความพรอมขางตน กล่าวโดยสรุปการเตรียมความพร้อม หมายถึง การดำเนินกิจกรรมของกระทําบางสิ่งบางอยางที่ไดถูกเตรียมพรอมเพื่อใหเกิดความมั่นใจและตั้งใจในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมนั้น ๆ ใหสามารถสําเร็จลุ

ลวงไปไดอยางมีประสิทธิภาพตลอดจนคุณสมบัติหรือสภาวะของบุคคลที่พรอมจะทํางานหรือกระทํากิจกรรมอยางใดอยางหนึ่งอยางมีแนวโน้มจะประสบผลสําเร็จอยางตามวัตถุประสงค์

สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ความพร้อมของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการย้ายที่ทำการจากท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) ไปสู่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ หมายถึง สภาพที่เตรียมพร้อมในการปฏิบัติหรือดำเนินกิจกรรมที่ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิใหสามารถสําเร็จลุลวงไปอยางมีประสิทธิภาพอันเปนผลมาจากการเตรียมตัวไวแลวสําหรับกิจกรรมนั้นๆเพื่อที่จะสามารถกระทำภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคตได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จมากที่สุดหรือประสบปัญหาน้อยที่สุด

องค์ประกอบของความพร้อม

พรรณี ( 2538 อ้างใน นฤตพงษ์ ไชยวงค์ 2540: 18 ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความพร้อมไว้ 3 ประการ คือ

1. วุฒิภาวะ

2. การได้รับการอบรมและเตรียมตัว

3. ความสนใจหรือแรงจูงใจ

Downing และ Thackrey ??? Is this name right? (1971 อ้างถึงใน นวรัตน์ พ.ต.ต., 2545 : 17) ได้แบ่งองค์ประกอบของความพร้อมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1. องค์ประกอบทางกายภาพ ได้แก่ การบรรลุวุฒิภาวะด้านร่างกายทั่วไป เป็นต้น

2. องค์ประกอบด้านสติปัญญา ได้แก่ ความพร้อมด้านความสามารถในการรับรู้

ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น

3. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประสบการณ์ด้านสังคม สภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นต้น

4. องค์ประกอบด้านอารมณ์ แรงจูงใจและบุคลิกภาพ ได้แก่ ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นต้น

แนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวัง

ความหมายของความคาดหวัง

ความคาดหวังเป็นลักษณะทางจิตวิทยา ซึ่งมิได้จำเพาะเจาะจงที่การกระทำอย่างเดียว แต่จะรวมไปถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ ความรู้สึก ทัศนคติและค่านิยม จากการศึกษา พบว่ามีผู้ให้ความหมาย ความคาดหวังไว้หลายท่าน ดังต่อไปนี้

ความคาดหวัง หมายถึง ความต้องการของความรู้สึก การคิด การคาดคะเน หรือการคาดการณ์ล่วงหน้าในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การคิดในสิ่งที่เป็นไปได้ถึงระดับผลงานที่บุคคลกำหนดหรือคาดหมายว่าจะทำได้ เป็นผลมาจากประสบการณ์เดิมของบุคคลที่มีความต้องการบางอย่างจากบางคน และความต้องการให้บางคนกระทำบางอย่างให้ตน และสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่ตรงกันเสมอไป ( สุณีย์, 2543; วันเพ็ญ, 2545; สุพัตรา, 2546)

สุรางค์ (2529 : 55) ได้ให้ความหมายว่า ความคาดหวัง หมายถึง ความเชื่อว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งน่าจะเกิดขึ้น และสิ่งใดไม่น่าจะเกิดขึ้น ความคาดหวังจะเกิดขึ้นตรงตามความเชื่อหรือคาดการณ์ล่วงหน้าหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน หมากความคาดหวังนั้นประสบความสำเร็จหรือถูกต้อง จะมีเจตคติที่ดีหรือมีความพึงพอใจต่อสิ่งนั้น แต่ถ้าหากความคาดหวังจากเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติงานว่า หมายถึง ความคาดหวัง (ความเป็นไปได้) ที่ว่าถ้ามีความพยายามแล้วย่อมนำไปสู่การกระทำ แม้การกระทำที่เสร็จจะไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะงานยากเกินไปหรือประเมินค่าไม่เพียงพอหรือบุคคลขาดความชำนาญ

วิชชุลดา (2540 : 10) ได้ให้ความหมาย ความคาดหวังว่า ความคาดหวังเป็นความคิดที่บุคคลมุ่งหวังหรือคาดคะเนต่อบุคคลอื่นให้กระทำสิ่งหนึ่งที่ตนปรารถนาเป็นไป

Mondy และคณะ (1990 อ้างถึงใน พิสิฐ, 2546 : 20) ให้ความหมายของความคาดหวังว่าเป็นการคาดการณ์ของบุคคลต่อสิ่งต่าง ๆ โดยบุคคลจะใช้ประสบการณ์ที่เคยประสบมาเป็นปัจจัยกำหนดความคาดหวัง ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าความคาดหวังเป็นความรู้สึกความคิดเห็นเป็นประจักษ์ พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลจะเป็นไปเพื่อการได้รับผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้

???

กล่าวโดยสรุป ความคาดหวังหมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ที่มีความคาดหมายและมีความเชื่อมั่นต่อระดับของผลงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลกำหนด โดยความคาดหวังของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันตามภูมิหลัง ประสบการณ์ ความสนใจ การให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น ๆ

สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ความคาดหวังในสถานที่ทำงาน หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด และคาดการณ์ของพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อการทำงานภายในท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความคาดหวัง

สันติชัย (2534: 51) กล่าวถึงทฤษฎีความคาดหวังว่า เป็นทฤษฎีที่ช่วยในการตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนว่าจะเลือกกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งที่คาดหวังไว้ โดยมีข้อพิจารณาเกี่ยวเนื่องกับความคาดหวัง 2 ประการ คือ

1. พิจารณาว่าเป้าหมายที่จะไปสู่สิ่งที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด (Valence)

2. พิจารณาว่าสิ่งที่กระทำสามารถคาดหวังให้ไปถึงจุดหมายได้เพียงใด (Expectancy)

Bandura (อ้างใน รสวลีย์, 2536) ได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม โดย Bandura ได้เสนอว่า การที่มนุษย์เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและผลของการกระทำที่เกิดจากพฤติกรรมนั้น จะนำไปสู่ความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เอง กล่าวคือเมื่อประสบเหตุการณ์หนึ่งมนุษย์ก็จะอาศัยประสบการณ์ของตนคาดหวังเกี่ยวกับอีกเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดตามมาทำให้เกิดความดีใจ ความวิตกกังวลความหวาดหวั่นต่อเหตุการณ์ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมของมนุษบ์แบนดูรา ได้อธิบายว่า ความคาดหวังซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกกระทำพฤติกรรมใด ๆ นั้นมี 2 ชนิด คือ

1. ความคาดหวังเกี่ยวกับผลของการกระทำ (Outcome Expectancy) เป็นการคาดคะเนของบุคคลว่า พฤติกรรมนั้นจะนำไปสู่ผลการกระทำใด

2. ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถเป็นการคาดคะเนความสามารถของบุคคลในการกระทำพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ผลของการกระทำตามที่คาดหวัง

จะเห็นได้ว่าจากทฤษฎีของ Bandura จะสรุปได้ว่าความคาดหวังของบุคคลจะมีอิทธิพลต่อบุคคล ให้ต้องแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลซึ่งความคาดหวังนั้น

เพชรี (2538 : 10 - 11) กล่าวว่า ความคาดหวังของบุคคลเป็นการตั้งขึ้นเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการ ดังนั้น ความต้องการเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันจนแทบจะแยกไม่ออก เพราะเมื่อมนุษย์เกิดความต้องการแล้ว ความคาดหวังก็จะตามมา อย่างไรก็ตามความต้องการของมนุษย์เมื่อเกิดความต้องการแล้ว ก็มักจะคาดหวังสูงขึ้นไปอีกตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นตามทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้กล่าวถึงระดับความต้องการเป็นลำดับขั้น ดังนี้

1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety needs)

3. ความต้องการความรักและการยอมรับ (Belongingness needs)

4. ความต้องการการยกย่องนับถือ (Esteem needs)

5. ความต้องการที่จะรู้และเข้าใจตนเอง (Self-actualization needs)

ปัจจัยกำหนดความคาดหวัง

ปัจจัยที่กำหนดความคาดหวัง สามารถสรุปได้ดังนี้

เพชรี (2538: 25) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่น่าจะกำหนดความคาดหวังมี 3 ประการ คือ

1. ขึ้นอยู่กับลักษณะความแตกต่างของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อม ความคาดหวังและการแสดงออกจึงแตกต่างกัน เพราะความคิด ความต้องการของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน

2. ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของงาน และประสบการณ์ที่ผ่านมาในครั้งนั้น ๆ กล่าวได้ว่า ถ้าบุคคลเคยประสบความสำเร็จในการทำงานนั้นมาก่อน ก็จะทำให้มีการกำหนดระดับความคาดหวังในการทำงานในคราวต่อไปสูงขึ้น และใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามจะกำหนดระดับความคาดหวังต่ำลงมาก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกล้มเหลวจากระดับความคาดหวังที่ตั้งสูงไว้กว่าความสามารถจริง

3. ขึ้นอยู่กับการประเมินความเป็นไปได้ เพราะความคาดหวังเป็นความรู้สึกนึกคิด และการคาดการณ์ของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้น ๆ อาจเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมก็ได้ จะเป็นการประเมินค่าโดยมีมาตรฐานของตนเองเป็นเครื่องวัดของแต่ละบุคคล ซึ่งการประเมินค่าของแต่ละคนที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถึงจะชนิดเดียวกันก็อาจแตกต่างกันได้ โดยขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ประสบการณ์ ความสนใจ การให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น ๆ ของแต่ละบุคคล

สุพัตรา( 2546: 12) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่น่าจะกำหนดความคาดหวังมี 3 ประการ คือ

1. ขึ้นอยู่กับลักษณะความแตกต่างของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อม

2. ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาและผลตอบแทนหรือความพึงพอใจที่จะได้หรือโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนนั้น

3. ขึ้นอยู่กับการประเมินความเป็นไปได้ เพราะความคาดหวังเป็นความรู้สึกนึกคิดและการคาดการณ์ของบุคคลต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยสิ่งนั้น ๆ อาจเป็นรูปธรรม หรือ นามธรรมก็ได้ จะเป็นการประเมินค่า โดยมีมาตรฐานของตนเองเป็นเครื่องวัดของแต่ละบุคคล ซึ่งการประเมินค่าของแต่ละคนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งชนิดเดียวกันก็อาจจะแตกต่างกันได้ โดยขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ประสบการณ์เดิม ความสนใจ การให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น ๆ ของแต่ละบุคคล

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความคาดหวังของบุคคล เกิดจากลักษณะความแตกต่างของแต่ละบุคคล โดยใช้มาตรฐานของตนเป็นเครื่องวัด ซึ่งระดับของความคาดหวังจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ

ความหมายของความรู้ความเข้าใจ

นักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคำว่า “ ความรู้ความเข้าใจ ” โดยสรุปความหมายได้ว่า ความรู้ความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการจำและเข้าใจรายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่บุคคลได้สะสมไว้และถ่ายทอดต่อๆกันมาตลอดจนสามารถที่จะสื่อความหมาย แปลความ ตีความ ขยายความ หรือแสดงความความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลังจากที่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆแล้ว( ศุภกนิตย์ , 2540; เกศินี ,2540;ไพศาล,2526 )

ความหมายของความรู้

บุญธรรม (2535 : 7) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่า หมายถึง การระลึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยมีประสบการณ์มาแล้ว และรวมถึงการจำเนื้อเรื้องต่าง ๆ ทั้งที่ปรากฏอยู่ในแต่และเนื้อหาวิชา และวิชาที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาวิชานั้นด้วย

The Modern American Dictionary ว่าได้ให้คำจำกัดความของความรู้ที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ (Wikstrom และ Normann , 1994:9) ดังนี้

1.  ความรู้ คือ ความคุ้นเคยกับข้อเท็จจริง (Fact) ความจริง (Truths) หรือหลักการโดยทั่วไป (principles)

2.  ความรู้ คือ รู้ (Known) หรืออาจจะรู้ (May be known)

3.  ความรู้ คือ จิตสำนึก ความสนใจ (Awareness)

ศุภกนิตย์ ( 2540: 24 ) ได้กล่าวถึงการวัดความรู้ว่า การวัดความรู้เป็นการวัดระดับความจำ ความสามารถในความคิด เข้าใจกับข้อเท็จจริงที่ได้รับการศึกษา และประสบการณ์เดิม โดยผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว จะแยกคนที่มีความกับไม่มีความรู้ออกจากกันได้ระดับหนึ่ง

เกษม (2544 : 39-40) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่า หมายถึง การรวบรวมความคิดของมนุษย์ จัดให้เป็นหมวดหมู่และประมวลสาระที่สอดคล้องกัน โดยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่เป็นสาระที่สอดคล้องกัน โดยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่เป็นสาระในระบบข้อมูลข่างสาร

จากคำจำกัดความที่มีผู้กล่าวไว้ในเบื้องต้น สามารถสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึงข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ และรายละเอียดของเรื่องราวและการกระทำต่าง ๆ ที่บุคคลได้ประสบมาและเก็บสะสมไว้เป็นความจำที่สามารถถ่ายทอดต่อ ๆ ไปได้และสามารถวัดความรู้ได้โดยการระลึกถึงเรื่องเหล่านั้นแล้วแสดงออกมา

ระดับของความรู้

ความรู้มีอยู่มากมายรอบ ๆ ตัวเรา และสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ (มนตรี : 2537)

ระดับแรก ความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเรา ซึ่งสามารถรับรู้ได้โดยประสาทสัมผัส มองเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น และลิ้มรสได้ เช่น ความร้อน - เย็น ความสว่าง - มืด เสียง ดัง-เบา กลิ่นหอม-เหม็น และรสเค็ม-หวาน เป็นต้น ความรู้ระดับต้นนี้อาจเรียกว่า ความรู้สึก

ระดับที่สอง ได้แก่ ความรู้ด้านภาษา ซึ่งจะทำให้อ่านและเขียนหนังสือได้ ฟังเข้าใจ ฟังวิทยุและดูทีวีรู้เรื่อง ตลอดจนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สะสมและตกทอดกันมา

ระดับที่สาม ได้แก่ ความรู้ด้านวิชาการ ซึ่งได้จากการศึกษาเล่าเรียน ทำให้คิดเลขเป็น คำนวณดอกเบี้ยได้ ออกแบบอาคารได้ เขียนบทละครได้ ใช้คอมพิวเตอร์เป็น รู้กฎหมายบ้านเมือง รู้จักกฏเกณฑ์ ทางฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี และชีววิทยา วินิจฉัยโรคและรู้วิธีรักษาโรค เป็นต้น ความรู้วิชาการเหล่านี้ มักจะต้องเรียนรู้จากครู อาจารย์ เอกสาร ตำราทางวิชาการหรือผู้ที่รู้เรื่องนั้นมาก่อน

ระดับที่สี่ ได้แก่ ความรู้ใหม่ เป็นความรู้ที่ไม่เคยมีอยู่ก่อน ได้มาโดยการค้นคว้าวิจัย การคิดค้นกระบวนการใหม่ และควรจะหาแนวทางในการนำความรู้ใหม่ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนา

Bloom และคณะ ได้ทำการศึกษาและจำแนกพฤติกรรมด้านความรู้ออกเป็น 6 ระดับ โดยเรียงตามลำดับชั้นความสามารถจากต่ำไปสูง (อ้างในสุภาภรณ์, 2546) ดังนี้

1. ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจำหรือรู้สึกได้ แต่ไม่ใช่การใช้ความเข้าใจไปตีความหมายในเรื่องนั้น ๆ แบ่งออกเป็น ความรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องซึ่งเป็นข้อเท็จจริง วิธีดำเนินงาน แนวคิด ทฤษฎี โครงสร้าง และหลักการ

2. ความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ ทั้งในด้านภาษา รหัส สัญลักษณ์ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม แบ่งเป็นการแปลความ การตีความ การขยายความ

3. การนำไปใช้ หมายถึง ความสามารถนำเอาสิ่งที่ได้ประสบมา เช่น แนวคิด ทฤษฎี ต่าง ๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือนำไปใช้แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

4. การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะเรื่องราว ออกเป็นส่วนประกอบย่อย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบส่วนย่อย และหลักการ หรือทฤษฎี เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ

5. การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการนำเอาเรื่องราว หรือส่วนประกอบย่อยมาเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยมีการดัดแปลง ริเริ่ม สร้างสรรค์ ปรับปรุงของเก่าให้มีคุณค่าขึ้น

6. การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการพิจารณา ตัดสินคุณค่าของความคิดอย่างมีหลักเกณฑ์ เป็นการตัดสินว่าอะไรดีไม่ดีอย่างไรใช้หลักเกณฑ์เชื่อถือได้โดยอาศัยข้อเท็จจริงภายในและภายนอก

การวัดความรู้

การวัดความรู้เป็นการวัดความสามารถในการระลึกเรื่องราวข้อเท็จจริง หรือประสบการณ์ต่าง ๆ หรือเป็นการวัดการระลึกประสบการณ์เดิมที่บุคคลได้รับคำสอน การบอกกล่าว การฝึกฝนของผู้สอน รวมทั้งจากตำราจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยคำถามวัดความรู้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด (ไพศาล, 2526 : 96 - 104) คือ

1. ถามความรู้ในเนื้อเรื่อง เป็นการถามรายละเอียดของเนื้อหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของเรื่องราวทั้งหลาย ประกอบด้วยคำถามประเภทต่าง ๆ เช่น ศัพท์ นิยม กฎ ความจริง หรือรายละเอียดของเนื้อหาต่าง ๆ

2. ถามความรู้ในวิธีการดำเนินการ เป็นการถามวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ตามแบบแผน ประเพณี ขั้นตอนของการปฏิบัติงานทั้งหลาย เช่นถามระเบียบแบบแผน ลำดับขั้น แนวโน้มการจัดประเภทและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ

3. ถามความรู้รวบยอด เป็นการถามความสามารถในการจดจำข้อสรุป หรือหลักการของเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหาลักษณะร่วม เพื่อรวบรวมและย่นย่อลงมาเป็นหลัก หรือหัวใจของเนื้อหานั้น

จำนง (2535: 24-29) กล่าวว่า การวัดความรู้นั้นส่วนมากนิยมใช้แบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบนี้เป็นเครื่องมือประเภทข้อเขียนที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. แบบอัตนัย หรือแบบความเรียง โดยให้เขียนตอบเป็นข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1-2 บรรทัด หรือเป็นข้อ ๆ ตามความเหมาะสม

2. แบบปรนัย แบ่งเป็น

2.1 แบบเติมคำ หรือเติมข้อความให้สมบูรณ์ แบบทดสอบนี้เป็นการวัดความสามารถในการหาคำ หรือข้อความมาเติมลงในช่องว่างของประโยคที่กำหนดให้ถูกต้องแม่นยำ โดยไม่มีคำตอบใดชี้นำมาก่อน

2.2 แบบถูก-ผิด แบบทดสอบนี้วัดความสามารถในการพิจารณาข้อความที่กำหนดให้ว่าถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ จากความสามารถที่เรียนรู้มาแล้ว โดยจะเป็นการวัดความจำและความคิด ในการออกแบบทดสอบควรต้องพิจารณาถึงข้อความจะต้องชัดเจน ถูกหรือผิดเพียงเรื่องเดียว สั้นกะทัดรัดได้ใจความ และไม่ควรใช้คำปฏิเสธซ้อน

2.3 แบบจับคู่ แบบทดสอบนี้เป็นลักษณะการวางข้อเท็จจริง เงื่อนไข คำ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไว้ 2 ด้านขนานกัน เป็นแถวตั้ง 2 แถว แล้วให้อ่านดูข้อเท็จจริงในแถวตั้งด้านหนึ่งว่ามีความเกี่ยวข้อง จับคู่ได้พอดีกับข้อเท็จจริงในอีกแถวตั้งหนึ่ง โดยทั่วไปจะกำหนดให้ตัวเลือกในแถวตั้งด้านหนึ่งน้อยกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ได้ใช้ความสามารถในการจับคู่มากขึ้น

2.4 แบบเลือกตอบ ข้อสอบแบบนี้เป็นข้อสอบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถวัดได้ครอบคลุมจุดประสงค์และตรวจให้คะแนนได้แน่นอน ลักษณะของข้อสอบประกอบด้วยส่วนข้อคำถาม และตัวเลือก โดยตัวเลือกจะมีตัวเลือกที่เป็นตัวถูก และตัวเลือกที่เป็นตัวลวง ผู้เขียนข้อสอบต้องมีความรู้ในวิชานั้นอย่างลึกซึ้ง และรู้วิธีการเขียนข้อสอบ โดยมีข้อควรพิจารณา คือ ในส่วนข้อคำถามต้องชัดเจนเพียงหนึ่งเรื่อง ภาษาที่ใช้กะทัดรัดเหมาะสมกับระดับของผู้ตอบ ไม่ใช้คำปฏิเสธหรือปฏิเสธซ้อนกัน และไม่ควรถามคำถามแบบท่องจำ และในส่วนตัวเลือกควรมีคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียวที่มีความกะทัดรัด ไม่ชี้นำหรือแนะคำตอบ มีความเป็นอิสระจากกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียงตามลำดับตามปริมาณหรือตัวเลข ตัวลวงต้องมีความเป็นไปได้และกำหนดจำนวนตัวเลือก 4 หรือ 5 ตัวเลือก

เยาวดี (2540: 99) กล่าวว่า การวัดความรู้นั้นเป็นการวัดความสามารถของบุคคลในการระลึกนึกถึงเรื่องราว หรือสิ่งที่เคยเรียนมาแล้วซึ่งคำถามที่ใช้ในระดับนี้ คือความจำ

ความหมายของความเข้าใจ

ความเข้าใจ ( Comprehension ) หมายถึง ความสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องราวต่างๆได้ทั้งภาษา รหัส สัญลักษณ์ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม แบ่งเป็น การแปลความ การตีความ การขยายความ

(จักรกริช,2542)

จักรกริช ใจดี (2542:8-9) ได้แยกความเข้าใจออกเป็น3 ลักษณะ ดังนี้

1.  การแปรความ คือ ความสามารถในการจับใจความให้ถูกต้องกับสิ่งที่สื่อความหมายหรือความสามารถในการถ่ายเทความหมายจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง หรือจากการสื่อสารรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง

2.  การตีความ คือ ความสามารถในการอธิบาย หรือแปลความหมายหลายๆอันมาเรียบเรียง โดยทำการจัดระเบียบ สรุปยอดเป็นเนื้อความใหม่ โดยยึดเป็นเนื้อความเดิมเป็นหลักไม่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์อื่นใดมาใช้

3.  การขยายความ คือ ความสามารถที่ขยายเนื้อหาข้อมูลที่รับรู้มาให้มากขึ้น หรือเป็นความสามารถในการทำนาย หรือคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างดี โดยอาศัยข้อมูลอ้างอิงหรือแนวโน้มที่เกินเลยจากข้อมูล

กล่าวโดยสรุป ความรู้ความเข้าใจ หมายถึง ความทรงจำในเรื่องราว ข้อเท็จจริง

รายละเอียดต่าง ๆ และความสามารถในการนำความรู้ที่เก็บรวบรวมมาใช้ดัดแปลง อธิบาย เปรียบเทียบในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างมีเหตุผล และความรูความเขาใจเปนสิ่งที่เกี่ยวของโดยตรงและรวมถึงการนําความรูความเขาใจไปใชในสถานการณจริงไดตามขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ความรู้ความเข้าใจในระบบใหม่ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ หมายถึง ความเข้าใจรายละเอียดในเรื่องของระบบการทำงานบางระบบภายในสนามบินสุวรรณภูมิที่พนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จะไปปฏิบัติหน้าที่

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินการในด้านการบินพาณิชย์ในประเทศ ในฐานะสายการบินแห่งชาติและเป็นรัฐวิสาหกิจของชาติที่ดำเนินกิจการแข่งขันกับต่างประเทศในธุรกิจการบินโลก และยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไรต่อเนื่องตลอดมาทั้งยังได้รับการยกย่องในด้านต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับสายการบิน ชั้นนำของโลก (บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) , 2543 : 4)

การบินไทย ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 โดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับบริษัทสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ซิสเต็มหรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส ได้ร่วมลงทุนกิจการด้วยทุนเพียง 2 ล้านบาท โดยบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ถือหุ้น 70 % และ เอส เอ เอส ถือหุ้น 30% ในเวลาต่อมาได้มีการเพิ่มทุนอย่างเป็นขั้นตอนตลอดมา จนถึงปี พุทธศักราช 2520 บริษัท เดินอากาศไทยได้ซื้อหุ้นทั้งหมดคืน จาก เอส เอ เอส ตามมติของคณะรัฐมนตรี และมอบการโอนหุ้นที่ซื้อมานี้ให้กระทรวงการคลัง ดังนั้น การบินไทย จึงเป็นสายการบินของคนไทยอย่างแท้จริง และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด กับกระทรวงการคลังเป็นผู้ร่วมถือหุ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2531 บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด และบริษัท การบินไทย จำกัด ได้รวมกิจการเข้าด้วยกัน โดยมติของคณะรัฐมนตรี (บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) , 2543 : 5)

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2534 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับหุ้นสามัญของการบินไทย เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้จากการแปลงกำไรสะสมเป็นทุน และเพิ่มทุนจดทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจะทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัท ฯ เพิ่มจาก 2,230 ล้านบาท เป็น 16,000 ล้านบาท จึงนับเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขณะนั้น

ในปี พ.ศ. 2535 บริษัท ฯ ได้นำหุ้นเพิ่มทุนออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป และพนักงานเป็นจำนวนมาก 1,000 ล้านบาท หรือ 100 ล้านหุ้น ส่วนอีก 2,000 ล้านบาท หรือ 200 ล้านหุ้น นั้น จะนำออกจำหน่ายเมื่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นสมควรต่อไป ดังนั้นปัจจุบันบริษัท ฯ จึงมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 14,000 ล้านบาท

นโยบาย

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีนโยบายโดยสังเขปคือดำเนินงานในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการดำรงรักษาและเพิ่มพูนสิทธิด้านการบิน ร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แสวงหาและเพิ่มพูนรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ และรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ให้มีทักษะและวิชาชีพได้มาตรฐานสากลรวมถึงเทคโนโลยีชั้นสูงทุกสาขาที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการบินพาณิชย์ของโลก ทั้งนี้ การบินไทยยังมุ่งเผยแพร่วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของประเทศไทย ในทุกวิถีทางไปสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย

วัตถุประสงค์

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุและไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน อาทิเช่น สถานีการบินศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน คลังสินค้า กิจการทัศนาจร โรงแรม ภัตตาคาร ครัวการบินเป็นตัวแทนการขนส่งให้กับกิจการที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมบุคลลภายนอกและพนักงานในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับกิจการ เป็นต้น

เมื่อเริ่มดำเนินการครั้งแรก บริษัท ฯ มีเครื่องบิน ดีซี 6 เพียง 3 เครื่อง บินเฉพาะเส้นทางในภูมิภาคเอเชีย ต่อมาการบินไทยจัดหาเครื่องบินมาบริการเพิ่มขึ้น และได้ขยายเส้นทางบินเรื่อยมา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ทำการบินสู่ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ปัจจุบันมีเส้นทางบินระหว่างประเทศออกจากกรุงเทพ ฯ ไปยังเมืองต่าง ๆ ถึง 53 เมือง (ไม่รวมกรุงเทพ ฯ) โดยเน้นท่าอากาศยานกรุงเทพ ฯ ให้เป็นศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้

เกียรติภูมิ

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ ได้นำชื่อเสียงและเกียรติภูมิมาสู่ประเทศไทย ในประชาคมโลก ทั้งในแง่ของความสำเร็จ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บริการ และในแง่ที่ได้รับยกย่องจากสถาบันสำคัญ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้สายการบินนานาชาติส่วนใหญ่ที่ทำการบินมายังท่าอากาศยานกรุงเทพ ฯ ยังให้ความไว้วางใจฝ่ายช่างของการบินไทยให้ ตรวจซ่อมเครื่องบินตลอดมา สำหรับกิจการด้านครัวการบินไทยมีบริการผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงส่งขึ้นเครื่องบินของสายการบินต่าง ๆ สามารถผลิตอาหารทุกประเภท ตามความต้องการของสายการบินลูกค้า ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ครัวการบินไทยเป็นผู้ขายบริการด้านอาหารขึ้นเครื่องบินให้กับสายการบินชั้นนำเกือบทุกสายการบินที่บินแวะประเทศไทย และนิตยสารสวัสดีของการบินไทย ซึ่งจัดเป็นอภินันทนาการแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินเส้นทางระหว่างประเทศ ก็ได้รับการประกาศเกียรติคุณในด้านต่าง ๆ ตลอดมา

กล่าวได้ว่า เกียรติคุณต่างๆ ที่ได้รับนี้ ย่อมเกิดจากทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพกว่า 24,000 คน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเทคโนโลยีอันทันสมัย และการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการบินไทย ให้ก้าวรุดต่อไปในอนาคต (สำนักประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) , 2543 : 5)

เพื่อให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กลับมาครองความเป็นหนึ่งของสายการบินในภูมิภาคนี้ และเป็นสายการบินชั้นนำของสายการบินทั่วโลก บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จึงกำหนดนโยบายในการบริหารกิจการของบริษัท ดังนี้ (สำนักประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) , 2543 : 7)

1. สานต่องานเดิม ซึ่งคณะกรรมการบริษัท ฯ ชุดที่แล้วได้ดำเนินการไว้ และยังไม่แล้วเสร็จอย่างไรก็ดีหากงานใดจำต้องทบทวนปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลก็จะดำเนินการพิจารณาให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ฯ และประเทศ

2. เร่งรัดการเพิ่มมาตรฐานและความปลอดภัย ทั้งในด้านการบินและการบริการตลอดจนการปฏิบัติทุกระบบให้อยู่ในเกณฑ์สูงสุด เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร

3. เร่งรัดปรับปรุงการให้บริการในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน การให้บริการบนเครื่องบิน และการให้บริการภาคพื้น

4. เร่งรัดการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการปรับปรุงและพัฒนาที่นั่งภายในเครื่องบิน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ระบบการต้อนรับภายในเครื่อง และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ

ผู้โดยสารที่ติดตั้งบนเครื่องบินให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในด้านการบริการผู้โดยสาร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับของสนามบินสุวรรณภูมิ

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา และ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิสามารถสรุปได้ดังนี้ (http://www.thaiair.info/sbia/index.htm)

ความเป็นมา

พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยว่าจ้างบริษัท Litchfield Whiting Bowne and Associate ศึกษาและวางผังเมืองกรุงเทพฯ ผลการศึกษามีข้อเสนอให้ภาคมหานครของไทยเตรียมจัดให้มีสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ ซึ่งจะแยกเป็นสัดส่วนจากสนามบินทหารที่ดอนเมือง โดยให้สนามบินใหม่มีระยะห่างจากใจกลางเมืองและทิศทางที่เหมาะสมกับการขึ้นลงของเครื่องบินระหว่างสนามบินใหม่กับสนามบินดอนเมืองด้วย

พ.ศ. 2504 กระทรวงคมนาคมได้ศึกษาเปรียบเทียบสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่หลายบริเวณ และเห็นว่าบริเวณพื้นที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งท่าอากาศยานแห่งใหม่ โดยจะอยู่ห่างจากสนามบินดอนเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามระยะเส้นตรงประมาณ 29 กิโลเมตร

พ.ศ. 2506-2516 กรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคมได้จัดหาที่ดินท่าอากาศยานแห่งใหม่ โดยจัดซื้อและเวนคืนที่ดินประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งใหญ่กว่าพื้นที่สนามบินดอนเมืองราว 6 เท่า และจะสามารถรองรับการจราจรของเครื่องบินสำหรับมหานครได้ไม่น้อยกว่า 60 ปีหลังจากการเปิดใช้งาน

พ.ศ. 2521 กระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างบริษัท Tippets Abbott Mocarthy Aviation ศึกษาทบทวนความเหมาะสมในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่อีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีท่าอากาศยานแห่งใหม่รองรับภาคมหานคร เพราะสนามบินดอนเมืองมีพื้นที่จำกัด และผลศึกษายังคงยืนยันว่าบริเวณพื้นที่คลองหนองงูเห่า อำเภอบางพลี สมุทรปราการ เหมาะสมที่สุด

บริษัท TAMS ได้ทบทวนผลการศึกษาเรื่องการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ โดยพิจารณาคัดเลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมในเบื้องต้น 7 แห่ง ได้แก่

1.  อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เขตต่อกับจังหวัดนครปฐม

2.  อำเภอลาดหลุมแก้วและลาดบัวหลวง เขตจังหวัดปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3.  สนามบินดอนเมือง

4.  เขตหนองจอก กทม.

5.  บริเวณหนองงูเห่า

6.  อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ

7.  อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

พ.ศ. 2530 ศึกษาของคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภาเสนอว่าควรมีท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ และเห็นควรให้มีการสงวนที่ดินบริเวณหนองงูเห่าไว้ตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่

พ.ศ. 2533 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Louis Berger International ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบท่าอากาศยานทั่วประเทศ (Airport System Master Plan Study) เพื่อใช้ประโยชน์เป็นแนวทางการพัฒนาสนามบินของไทยในระยะยาว ผลการศึกษาในส่วนเกี่ยวกับท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ สรุปว่า ท่าอากาศยานดอนเมืองจะถึงจุดอิ่มตัวในปี 2543 และหากไม่มีท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ซึ่งการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้รายงานผลการศึกษาดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาถึงความจำเป็นต้องก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ เพื่อเป็นสนามบินพาณิชย์หลักของภาคมหานคร

วันที่ 7 พ.ค. 2534 ครม. ได้มีมติอนุมัติให้มีการก่อสร้างโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ และเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2535 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา General Engineering Consultants (GEC), กลุ่ม Netherlands Airport Consultants B.V. (NACO), Louis Berger International Inc., Design 103 Co., Ltd, Asian Engineering Consultants Corp., Ltd., Index International Group Co,. Ltd., และ TEAM Consulting Engineer Co., Ltd. มาทำการศึกษาเพื่อวางแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา ออกแบบเบื้องต้น และควบคุมการออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม ตลอดจนช่วยบริหารงานก่อสร้าง ในวงเงินประมาณ 914 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี 6 เดือน โดยกำหนดเปิดใช้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ในปี 2543

วันที่ 25 ส.ค. 2535 ครม. มีมติเห็นชอบงบประมาณประมาณ 80 ล้านบาท ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน รองรับการเชื่อมต่อโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 โดยเริ่มงานในปีงประมาณ 2536

วันที่ 15 ก.ย. 2535 ประกาศใช้ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 พ.ศ. 2535" ซึ่งกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารไว้ดังนี้

1. ให้มีคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (กทก.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน (พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธาน รองเลขาธิการ หรือ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการฯ

2. ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 (สกท.) เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กทก.

คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ รวม 6 ชุด และคณะทำงานเฉพาะกิจ 1 ชุด ได้แก่

1. คณะอนุกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 มีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน

2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน สำหรับรองรับเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 มีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน

3. คณะอนุกรรมการประสานการโยกย้าย และกำหนดเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 และโครงข่ายบริการพื้นฐาน มีอธิบดีกรมการบินพาณิชย์ เป็นประธาน

4. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 และโครงข่ายบริการพื้นฐาน มีผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นประธาน

5. คณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 และโครงข่ายพื้นฐาน มีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

6. คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับรูปแบบอาคารอันเป็นสัญญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย มีนายวทัญญู ณ ถลาง เป็นประธาน

7. คณะทำงานเฉพาะกิจพิจารณาระบบระบายน้ำ และป้องกันน้ำท่วมในทุ่งฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เป็นประธาน

วันที่ 7 พ. ค. 2538 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และ ตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ โดยให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็นผู้รับผิดชอบ

วันที่ 16 พ. ค. 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ใช้ชื่อว่า บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10,000 ล้านบาท มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม

วันที่ 31 พ. ค. 2538 กระทรวงการคลังมีคำสั่งที่ 76/2538 วันที่ 31 พ.ค. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด โดยมีรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง (นางมณีมัย วุฒิธรเนติลักษณ์) เป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานฯ ร่วมกันพิจารณาให้บริษัทจำกัดที่จะจัดตั้งขึ้น มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10,000 ล้านบาท จำนวนหุ้น 100 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และให้ใช้ชื่อว่า "บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งใหม่ จำกัด" หรือ "New Bangkok International Airport Limited" กทก. ได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2538 กำหนดให้โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทฯ ควรมี 7-15 คน สำหรับประธานกรรมการให้พิจารณาได้ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ 2) ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ และ 3) เอกชนเป็นประธานกรรมการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ สำหรับตำแห่งกรรมการผู้จัดการก็เป็นเอกชนเช่นเดียวกัน

วันที่ 7 ธ.ค. พ.ศ. 2539 บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ได้รับการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีกระทรวงการคลังและการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้น

วันที่ 27 ก.พ. พ.ศ. 2539 บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ได้มีการจัดตั้งขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลัง และ ทอท. ถือหุ้นร้อยละ 51.39 และ 48.61 ตามลำดับ

วันที่ 21 ก.ค. พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ บทม. ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ให้มีทางวิ่ง 2 เส้น สามารถรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี โดยมีงบลงทุน 120,000 ล้านบาท รวมทั้งเห็นชอบให้เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการท่าอากาศยาน

พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” เป็นชื่อ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่

วันที่ 29 ก.ย. 2548 กำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 29 กันยายน 2548 ซึ่งเมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการแล้ว ก็จะโยกย้ายกิจกรรมด้านการพาณิชย์ทั้งหมดจากสนามบินดอนเมืองไปที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองจะใช้เฉพาะในกิจการของกองทัพอากาศ ตลอดจนการบินพาณิชย์เฉพาะเครื่องบินเที่ยวพิเศษเช่าเหมาลำ เครื่องบินส่วนบุคคล (General Aviation) และเครื่องบินสินค้าทั้งลำต่อไป

เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการก่อสร้างล่าช้า เพื่อความปลอดภัยดังนั้นรัฐบาลจึงประกาศเลื่อนกำหนดเปิด เป็นประมาณ เดือน มีนาคม 2549 และถ้าพบเรื่องปัญหาเรื่องความปลอดภัยที่ยังคงมีอยู่ก็อาจจะประกาศเลื่อนการเปิดไปอีกครั้ง

ระบบงานใหม่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

1.ระบบบริหารข้อมูลการบิน FIMS (Flight Info. Management System) คือระบบที่จักการเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของการบินทั้งเที่ยวไปและกลับ โดยมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลองค์กรสากลสนามบินอื่น ๆ ตลอดจนสายการบินต่าง ๆ

2.ระบบเครือข่ายและส่วนเชื่อมสื่อสาร AIMS network Back Bone including Gateway คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับติดตั้งภายในบริเวณสนามบิน เพื่อใช้เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ภายในอาคารต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

3.ระบบ LAN เพื่อการสื่อสารข้อมูล AIMS ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับติดตั้งในอาคาร AIMS (IT-Building)

4.ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการสนามบิน AOC (Airport Operation Center) คือระบบที่สังเกตการณ์ ตรวจตรา และควบคุมอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกระบบของสนามบินงานประจำของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการด้านภาคพื้นอากาศ ภาคพื้นดิน รวมถึงอาคารผู้โดยสาร ตลอดจนระบบความปลอดภัยในสนามบิน

5.ศูนย์ควบคุมการเกิดวินาศกรรม CCC (Crisis Control Center) คือ ระบบที่ใช้ในห้องควบคุม และบัญชาการเมื่อมีวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น การปล้นเครื่องบิน การก่อวินาศกรรมในบริเวณสนามบิน เป็นต้น

6.ศูนย์ควบคุมรักษาความปลอดภัย SCC (Security Control Center) คือ ระบบที่ใช้ในห้องควบคุมรักษาความปลอดภัย โดยเป็นศูนย์กลางสำหรับการควบคุมระบบรักษาการความปลอดภัยต่าง ๆ ของสนามบิน เช่น ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ควบคุมอาคาร (Building Automation System) ระบบตรวจจับอัคคีภัย (Fire Detection and Alarm) , B34 (Controlled Access Security) เป็นต้น

7.ศูนย์ควบคุมและบริหารระบบเน็ตเวอร์ค NMC (Network Management Center) คือระบบควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายในระบบ AIMS Lan, AIMS network backbone. PTC Lan เช่น การตรวจสอบและวัดปริมาณการรับส่งข้อมูลภายในระบบเครือข่าย เป็นต้น

8.ระบบบริการข้อมูล Information KIOSK คือ ระบบที่เป็นตู้แสดงผลทางด้านข้อมูลแก่ผู้โดยสารและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวกับข้อมูลเที่ยวบิน ข้อมูลสนามบิน แผนผังสนามบินข้อมูลสายการบิน สิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งร้านค้า ร้านอาหาร การเดินทาง และอื่น ๆ

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (2547)ได้ทำการศึกษาผลกระทบพนักงาน ในกรณีการย้ายฐานปฏิบัติงานไปยังสุวรรณภูมิ โดยทำการศึกษาจากพนักงานทั้งหมดประมาณ 15,653 คน ซึ่งผลสำรวจจากแบบสอบถามจำนวนประมาณ 80% พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของพนักงานต่อการย้ายฐานปฏิบัติงานในครั้งนี้ สามารถสรุปได้ประเด็นใหญ่ ๆ 3 ประเด็น คือ ประเด็นปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัยครอบครัว สถานศึกษาของบุตร และคุณภาพชีวิตการทำงาน ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับพนักงาน และประเด็นสุดท้าย ปัญหาเกี่ยวกับการเดินทาง ซึ่งเป็นเรื่องของปัญหาการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่พนักงานวิตกมากที่สุด

กันยารัตน์ มีสุข 2546: ปัจจัยที่กำหนดและผลกระทบของการย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค ผลการศึกษาลักษณะการย้ายถิ่นในประเทศไทยพบว่าการย้ายถิ่นจากเขตชานเมือง – เขตชนบท มีแนวโน้มลดลง และการย้ายถิ่นจากเขตชนบท – เขตเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเหตุผลหลักของการย้ายถิ่น คือ เหตุผลทางครอบครัว รองลงมาคือ เหตุผลทางเศรษฐกิจ สำหรับรูปแบบการย้ายถิ่นในประเทศไทยนั้นพบว่าประชาการส่วนใหญ่ไม่ย้ายถิ่นในช่วงชีวิตมากนัก กล่าวคือประชากรส่วยใหญ่จะเกิดในจังหวัดมีสัดส่วนลดลง ขณะที่การย้ายถิ่นระหว่างภาคมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่วนผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณและการทดสอบสหสัมพันธ์ อย่างง่ายนั้น พับว่าปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม มีอิทธิผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค และทางด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการย้ายถิ่น ปรากฏว่ามีผลทั้งด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ หากรัฐบาลต้องการกำหนดนโยบายในการดึงดูดให้ประชากากรย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค ควรสนับสนุนปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จังหวัดเฉลี่ยต่อหัวเป็นสำคัญ รองลงมา คือ พี้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนนโยบายทางด้านการศึกษา

วรรณรินทร์ เทพบุตร 2548: ความคาดหวังในการได้รับสวัสดิการจากบริษัทการบินไทย จำกัด ( มหาชน ) เมือได้รับงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของพนักงานร้อนรับภาคพื้น จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานต้อนรับภาคพื้น ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 58.5 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 41.5 สรุปว่ามีความคิดเห็นต่อสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( ค่าเฉลี่ย = 1.5284 ) และความคาดหวังของพนักงานภาคพื้น บริษัทการบินไทย จำกัด ( มหาชน ) ต่อสวัสดิการในการปฎิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( ค่าเฉลี่ย = 2.7523 ) นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถาณภาพสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา รำดับต่ำแหน่ง รายได้และอายุงานแตกต่างกัน มีผลต่อการคาดหวังในสวัสดิการการ ปฎิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่แตกต่างกัน และความคิดเห็นต่อสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในสวัสดิการเมื่อไปปฎิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ